เก็บ Log , พรบ คอมพิวเตอร์ , เก็บข้อมูลจราจร , อุปกรณ์เก็บ log , เก็บ Log File , อุปกรณ์เก็บ log ราคาถูก , เครื่องเก็บ log

KKT LOG พรบ.
|
เก็บ Log , พรบ คอมพิวเตอร์ , เก็บข้อมูลจราจร , อุปกรณ์เก็บ log , เก็บ Log File , อุปกรณ์เก็บ log ราคาถูก , เครื่องเก็บ log
LISG II ประกอบไปด้วย 2 Module หลักคือ
Core Gateway
มีหน้าที่หลักคือ การจัดการและบริหารเครือข่าย เช่น Internet Gateway, DHCP Server, Rate Limite, Utilization monitoring, Firewall ,Proxy Server และ Tool อื่นๆที่จะช่วยให้บริการสามารถ ดำเนินการให้บริการอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโชยน์สูงสุด รับรู้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการนั่นเอง
Billing Module
สำหรับโครงการที่ต้องการให้บริการที่มี Package หลากหลาย เช่นการให้บริการตามระยะเวลาการใช้งาน หรือ Usage Time หรือต้องการจัดเก็บเงินแบบ Prepaid หรือ Postpaid ซึ่งการให้บริการรูปแบบดังกล่าว จำเป็นต้องมีระบบ Authentication หรือ การกำหนดสิทธิ์ ซึ่งก่อนที่ลูกค้าจะเริ่มใช้งานจำเป็นต้องมีการ Login ด้วย username/password ที่ระบบกำหนดขึ้นตาม Package ที่ลูกค้าเลือกใช้นั่นเอง โดยผู้ให้บริการจะสามารถ เรียกดูรายงานและทำการพิมพ์ใบแจ้งหนี้ เพื่อเรียกเก็บค่าบริการ แก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสะดวกสบาย
หัวใจสำคัญ สำหรับ ระบบ network ที่ให้ บริการใน อพาร์ทเมนท์ คือ การแก้ปัญหา คอขวดหรือ ไม่สามารถ ใช้งาน อินเตอร์เนต ได้ รวดเร็ว พร้อมกัน หลาย ๆ เครื่อง อันเนื่องมาจากผู้ใช้บริการ มีจำนวน เพิ่มขึ้น หรือ ผู้ให้บริการมี Bandwidth สำหรับ Internet Gateway (WAN) อย่างจำกัด และ ไม่มี ระบบจัดการ Bandwidth ที่จะแจกจ่ายให้กับ ผู้ใช้บริการแต่ละคน " โปรแกรมบริหารจัดการ ระบบอินเตอร์เน็ตบนห้องพัก LISG " สามารถช่วยเหลือท่านได้
Software LISG II ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา โดยเราเริ่มให้บริการลูกค้าเมื่อต้นปี 2546 ซึ่งจนถึงขณะนี้ เรามีตัวแทนจำหน่าย และ ลูกค้าโรงแรม, อพาร์ทเมนต์, องค์กร ที่ติดตั้ง Software LISG II เป็นจำนวนมาก ทางทีมงานเราจะมุ่งมั่นพัฒนาต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด
ส่วนประกอบของ โปรแกรม LISG V2.50 ที่สนับสนุน ในหลักการจัดเก็บข้อมูล จราจรคอมพิวเตอร์ตาม พรบ.คอม 2550
ยึดถือตาม รายละเอียดใน พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตาม ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 ดังนี้
2. " ต้นทาง " คือ หมายเลข MAC Address ( หมายเลขประจำ ของอุปกรณ์เชื่อมต่อ wifi, lan ethernet ของผู้ใช้งาน )
ระบบพิสูจน์การมีตัวตนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์โดยระบุ Physical Address
(Identification and Authentication System)
3. " ปลางทาง " ได้แก่ การดูว่า User ID: ต้นทาง ( IP, Mac-Address )และ แหล่งกำเหนิด ของต้น ทางนั้น ใช้งาน
ไปที่ ปลายทางไหนบ้าง เช่น เข้า Website อะไร เวลาไหน เส้นทางใช้งานผ่าน services www , เวลา วันที่ ,
ปริมาณ in/out package ระยะเวลา
การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไป
(๑) เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดัง กล่าวได้
(๒) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อ ถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้
เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริหารองค์กร กำหนดให้สามารถเข้า ถึงข้อมูลดังกล่าวได้
เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย เป็นต้น รวมทั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
lisg v2.50 สนับสนุน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือไม่ ?
ตอบ Lisg V2.50 มี Log file สนับสนุน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยโปรแกรม สามารถเก็บ
Log ทั้ง ในส่วนของ IP Address ของผู้ใช้งาน , MAC Address(หมายเลขอุปกรณ์เครือข่ายของผู้ใช้งาน) , ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน ของผู้ใช้งาน
ซึ่งอยู่ใน Profile ของโปรแกรม biling ตามที่ท่านได้ register ไว้
รวมถึง เก็บ Website URL ที่ User Access เข้าไปใช้งาน เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 90 วัน เพื่อติดตาม ผู้กระทำผิดทางคอมพิวเตอร์โดยท่าน สามารถ ศึกษากรณีตัวอย่าง กับ เหตุการณ์จริงได้จาก ประการณ์จริงของทีมงาน kkthai ในการ ให้ความช่วยเหลือ จับกุม ผู้ต้องหาในคดี ใช้อินเตอร์เน็ต Hotspot wifi บนอาคารเช่า เพื่อหลอกขายสินค้าตาม website ต่างๆ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การการทำผิดทางเทคโนโลยี
อ่านรายละเอียดที่เจาะจง ลงลึก ได้จาก URL: http://www.kkthai.com/webboard/index.php?topic=4.0
1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
4.1ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
4.2 ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
4.3 ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4.4 ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
ผู้ให้บริการ หมายถึง
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider)
1.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ทั้งมีสาย และไร้สาย
2. ผู้ประกอบการซึ่งให้บริการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในห้องพัก ห้องเช่า โรงแรม หรือ ร้านอาหารและเครื่องดืม ในแต่ละกลุ่มอย่างหนึ่งอย่างใด
3.ผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กร เช่น หน่วยงานราชการ บริษัท หรือ สถาบันการศึกษา
Log ชนิดอื่นๆ บน LISG V2.50 มีส่วนประกอบใดบ้าง ?? ในการอ้างอิง สนับสนุน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ดังกล่าว
การบันทึก LAW LOG ใน Server LISG V2.5
สำหรับ Software LISG V2.5 นั้น มีการ เก็บ Log เพื่อให้ สอดคล้องและ
สนับสนุน รายงานการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพื่อรองรับ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
สนับสนุน การ แสดงสิทธิ์พิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งานก่อนใช้งานอินเตอร์เน็ตตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
โดยจัดเก็บ Log File ดังกล่าว เป็นระยะเวลา 180 วัน
ท่าน สามารถ download log ประเภทต่างๆ เก็บไว้ใน Windows XP เพื่อสำรองข้อมูล การจัดเก็บ Log file ไว้บน แผ่น CD Writer ได้
* สำหรับ Log File ที่เกิน 180 วัน นั้น ระบบจะทำการ Delete ทิ้งออกจากเครื่อง Server (โดยนับตามปฏิทิน ของ เวลาในเครื่อง Server)
* Log file จะมีการจัดเก็บ โดยระบุ วันที่ เดือน ค.ศ. ของ Log แต่ละชนิด เพื่อง่ายต่อการ ค้นหา และ วิเคราะห์ Log โดยละเอียด
* กระบวนการ เก็บ Log File บน LISG V2.5 นั้น ได้ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของการเก็บ Log ตาม พรบ.ฯ คอมพิวเตอร์ปี 2550
โดยเคร่งคัด โดยมีการ md5sum , sha1sum บน Log file ทุกชนิดพี่พึงต้องเก็บ ในระบบ ทั้งนี้เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของขนาด log file ต่างๆว่าไม่มีการแก้ไขข้อมูลใดๆ ก่อนที่จะนำส่งให้ เจ้าหน้าที่ กระทรวง ICTในกรณี มีเจ้าหน้าที่กระทรวงICT ร้องขอ ข้อมูลการจัดเก็บ Log File ในระบบ Network Internet ของท่าน
ผู้ดูแลระบบ สามารถจัดการในส่วนของ Law log download ได้จาก
Menu ------ System ---- Law Log download